วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ออกแบบโลโก้ฉลากเขียว


Concept ธรรมชาติที่ยั่งยืน

แนวคิด Infinity + Natural

สัญลักษณ์ Infinity หมายถึง ไร้การสิ้นสุด ผสมผสานกับธรรมชาติซึ่งแทนด้วยใบไม้ ดังนั้นสัญลักษณ์นี้ จึงให้ความหมายโดยรวมว่า ความเป็นธรรมชาติที่ยั่งยืน ไม่มีสิ้นสุด

ฉลากเขียว (Green label) หรือฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน อันเป็นแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรูปของความสมัครใจ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริโภคให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค และสร้างความกดดันให้กับผู้ผลิต ในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ ในด้านเทคโนโลยีโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และยังเป็นวิธีที่ให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจว่าต้องการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพียงใ

HOME เปิดหน้าต่างโลก


ตลอด 200,000 ปีบนโลก มนุษยชาติพลิกผันดุลยภาพของดาวดวงนี้ ซึ่งกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยก็ต้องอาศัยวิวัฒนาการเกือบ 4 พันล้านปี ทุกวันนี้คือเวลาแห่งการชดใช้อย่างสาสม และสายเกินกว่าจะคร่ำครวญ

มนุษยชาติเหลือเวลาอีกไม่ถึง 10 ปีเพื่อกลับตัวกลับใจ เพื่อตระหนักถึงความอุดมสมบูรณ์ของโลกที่สูญสิ้นไปทุกหย่อมหญ้า และเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลาญทรัพยากร

นอกจากจะได้เห็นฟุตเทจแปลกตาซึ่งรวบรวมมาจากเหนือพื้นดินของกว่า 50 ประเทศ รวมถึงได้ร่วมแบ่งปันความพิศวงสงสัยและความกังวลใจ ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์ ยังหวังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูบ้านหลัง ใหญ่ขึ้นมาอีกครั้ง




· -20% ของประชากรโลกถลุงทรัพยาการของดาวดวงนี้ไปถึง 80%

· - ทั้งโลกใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์มากกว่านำเงินไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาถึง 12 เท่า

· - 1 พันล้านคนกำลังหิวโหย

· -กว่า 50% ของเมล็ดธัญพืชที่ซื้อขายกันทั่วโลกใช้เป็นอาหารสัตว์และผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ

· -ทุกๆ ปี พื้นที่ป่าสูญหายไป 13 ล้านเฮกตาร์

· -1 ใน 4 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, 1 ใน 8 ของนก และ 1 ใน 3 ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำใกล้จะสูญพันธุ์

· -ผลิตผลทางการประมงลดน้อยลง สูญสิ้น หรือเสี่ยงต่อการสูญสิ้นถึง 75%

· -ตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานับว่าสูงที่สุด

· -แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกบางลงถึง 40% ในระยะเวลา 40 ปี

· -ก่อนถึงปี 2050 คาดว่าจะมีผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศอันเลวร้าย 200 ล้านคน


นานๆ ผมจะได้ดูสารคดีแบบนี้ ต้องยอมรับว่าเทคนิคการถ่ายทำมันน่าสนใจจนผมไม่ละสายตาไปจากจอภาพ เนื้อหาที่ใส่ลงมาในสารคดีแน่นและเยอะมาก แต่ก็ยังรู้สึกว่าน่าติดตาม เพราะเขาได้ใช้ภาพช่วยในการเล่าเรื่อง ซึ่งภาพมันแตกต่างจากสารคดีในแนวเดียวกันกับเรื่องอื่นๆ ผมคิดว่ามันช่วยดึงดูดความสนใจได้ดีทีเดียว

ดังจะเห็นได้จากนักศึกษาในห้องเรียนที่มีการพูดคุยตอบโต้กันไปมาในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของฝีมือมนุษย์ ผมไม่รู้ว่าสารคดีเรื่องนี้จะช่วยกระตุ้นให้มนุษย์ในยุคอุตสาหกรรมนี้สำนึกหรือตระหนักในสิ่งที่ได้ทำลงไปหรือไม่ แต่อย่างน้อยมันก็ช่วยสร้างประโยชน์และคุณค่ากับหลายๆคนอย่างมหาศาล

PROJECT GREEN DESIGN : Bahrain World Trade Center ตึกพลังงานลม



บาห์เรน เวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ (Bahrain World Trade Center) เป็นอาคารสูงที่ได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่ออกแบบภายใต้แนวคิดพลังงานทดแทน ตั้งอยู่ที่กรุงมานามา ประเทศบาห์เรน ตัวตึกถูกก่อสร้างให้เป็นอาคารพาณิชย์คู่ และติดตั้งกังหันพลังงานลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เมตร จำนวนสามตัว ไว้บนคานระหว่างตึก ซึ่งโครงสร้างของตึกถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถรองรับกระแสลมจากชายฝั่งทะเลอาระเบียนที่มีกำลังแรงมากได้ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้ภายในตัวตึก ซึ่งถูกจัดสรรให้เป็นศูนย์กลางทางการค้า ย่านธุรกิจที่ทันสมัยและที่พักอาศัย

PROJECT GREEN DESIGN : Dynamic Tower ตึกหมุน 360 องศา



แนวคิดของ Dr. David Fisher

เวลาถือเป็นปัจจัยที่สำคัญของชีวิตเนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่เชื่อมโยงกับปัจจัยหลายอย่างมากมาย ประดิษฐ์กรรมอาคารสูงแบบใหม่ หรือ Rotating Tower นี้ ก่อเกิดจากชีวิตและมิติด้านเวลาถือเป็น สถาปัตยกรรมใหม่แห่งยุคอย่างแท้จริงแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้พื้นที่เติบโตขึ้นไปพร้อมกับเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาคารเหล่านี้จึงเป็นอาคารแบบพลวัตรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด Dr. Fisher ได้กล่าวถึง Rotating Towers ของตนเองว่าเป็น ผลงานแห่งชีวิตที่สร้างสรรค์โดยกาลเวลา

โดยสิ่งที่ Dr. Fisher ต้องการสื่อให้เห็นก็คือเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตและการอยู่อาศัยของมนุษย์โดยมีสถาปัตยกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกลางในการออกแบบเป็นสื่อที่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของ Dr. Fisher

ลักษณะอาคาร

เป็นอาคารแบบ 80 ชั้น ห้องชุดภายในจะมีขนาดตั้งแต่ 124 ตารางเมตร (1,334ตารางฟุต) ไปจนถึงห้องพักหรู เพนท์เอาส์ขนาด 1,200 ตารางเมตร (12,900 ตารางฟุต) พร้อมด้วยพื้นที่สำหรับจอดรถภายในตัว

อาคารหลังนี้ออกแบบและสามารถผลิตสำเร็จรูปได้จากโรงงาน ช่วยให้ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จได้จากโรงงานส่งถึงไซต์ เพื่อการติดตั้งได้ในทันทีด้วยชุดอุปกรณ์พิเศษ ทั้งพื้นผนัง เพดาน ชุดเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงระบบไฟฟ้า ระบำบำบัดน้ำเสีย ครบถ้วนในเวลาอันสั้น จึงมีมาตรฐานคุณภาพสูง
Dynamic Tower คือนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง และยังสามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับอาคารใกล้เคียง คุณสมบัติดังกล่าวเกิดขึ้นได้โดยอาศัยชุดกังหันลมที่ติดตั้งระหว่างจุดหมุนของพื้นที่แต่ละชั้น มีกังหันลมมากถึง 79 ตัว นับเป็นอาคารผลิตไฟฟ้าเชิงนิเวศน์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด

การที่ตัวตึกสามารถเคลื่อนที่ได้เกิดจากการอาศัยแรงดันจากกังหันลมที่ติดตั้งอยู่กับแกนกลางคนกรีตของตึก ส่งผลให้ตึกไดนามิค ทาวเวอร์ กลายเป็นตึกแรกในโลกที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงอาคารได้หลากหลายตามต้องการของผู้เป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะต้องการให้ตึกบิดเบี้ยวหรือกลับมาตั้งตรง ซึ่งการหมุนรอบตัวของตึกแต่ละชั้นจะใช้เวลาประมาน 23 ชั่วโมง โดยไม่ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกวิงเวียน การหมุนรอบตัวเองครบทั้งตัวตึกทุกชั้น จะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์

นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างของตึกนี้คือ การเลือกใช้โครงสร้างสำเร็จรูป ช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วชิ้นส่วนอาคารแต่ละชั้นจะถูกสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ล่วงหน้า แล้วจึงส่งมาประกอบเข้ากับโครงสร้างหลัก แต่ละชั้นใช้เวลาติดตั้งเพียง 6 วันเท่านั้น การก่อสร้างด้วยวิธีนี้จึงใช้คนงานน้อยมาก เมื่อเทียบกับการก่อสร้างตามปกติ จากที่ต้องใช้แรงงานและช่างเทคนิคมากถึง 2,000 คน ก็ลดลงเหลือ 680 คนเท่านั้น

ไดนามิค ทาวเวอร์ นอกจากจะโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมแล้ว ยังเป็นอาคารที่สามารถผลิตพลังงานได้เอง โดยแต่ละชั้นได้ติดตั้งกังหันลมตามแนวราบเอาไว้ กังหันแต่ละตัวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 0.3 เมกะวัตต์ เทียบเท่ากับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมทั่วไปที่ผลิตได้ 1- 1.5 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้พลังงานสำหรับ 50 ครอบครัว

กลุ่มเป้าหมาย

โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่ต้องการที่พักอาศัยที่ต้องการความหรูหราและเป็นสวนตัว โดยที่อาคารสามารถตอบสนองความต้องการของผู้อาศัยได้ทั้งเรื่องของความต้องการเรื่องการในใช้สอยพื้นที่ต่าง เช่นพื้นที่สำหรับจอดรถ พื้นที่สำหรับการพักผ่อน และยังสามารถตอบสนองความต้องการในเรื่องของมุมมองทัศนียภาพโดยเห็นได้จากจุดเด่นของอาคารที่สามารถหมุนได้ 360 องศา ที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของมุมมองของทัศนียภาพได้ดีที่สุด

ความเป็น Landmark ของเมือง

ด้วยความที่เป็นอาคารมีความสูงถึง 420 เมตร หรือ 80 ชั้น อาคารหมุนได้ 360 องศาและยังมีจุดเด่นในเรื่องของการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคือสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง แล้วยังช่วยจ่ายค่าไฟฟ้า ให้กับอาคารใกล้เคียงอีกด้วย คุณสมบัติดังกล่าวเกิดขึ้นได้โดยอาศัยชุดกังหันลมที่ติดตั้งระหว่างจุดหมุนของพื้นที่แต่ละชั้น มีกังหันลมมากถึง 79 ตัว นับเป็นอาคารผลิตไฟฟ้าเชิงนิเวศน์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด

สิ่งที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจ

สิ่งทำทำให้คนที่พบเห็นเกิดความประทับใจคือการที่อาคารนี้มีการคิดถึงความเป็นไปได้ของอาคารที่สามารถหมุนได้ 360 องศา และยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในเรื่องของการผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Contemporary : BDF



BDF Bangkok International Design Festival 2010

สำหรับผู้ที่รักการออกแบบและอยากจะรู้ว่างานออกแบบสร้างมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างไร ไม่ควรพลาดงาน “เทศกาลออกแบบนานาชาติบางกอก 2010” ซึ่งได้รวบรวมกิจกรรมต่างๆ มากกว่า 40 กิจกรรม ภายใต้ความร่วมมือกว่า 26 ประเทศ โดยพื้นที่จัดงานหลักคือหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เซ็นทรัลเวิลด์ และอีกหลายแห่งด้วยกัน งาน “เทศกาลออกแบบนานาชาติบางกอก 2010”
ลักษณะของานมีด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. การแสดงหลัก ภายใต้แนวคิด “ความรักและมิตรภาพ” ที่เน้นถึงความรัก มิตรภาพ และการแลกเปลี่ยนทางการออกแบบ โดยความร่วมมือกันของดีไซเนอร์ไทยและต่างชาติชื่อดัง ซึ่งงานส่วนนี้จะกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ

2. Next Station Bangkok ( CreativeMarket Zone ) ตลาดนัดงานออกแบบที่มีทั้งผลิตภัณฑ์ โปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ แฟชั่น และอื่นๆที่หักมุม โดดเด่น เติมเต็มจินตนาการแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครจาก นักออกแบบรุ่นใหม่ที่จะแสดงกระบวนการสร้างงานเก๋ไก๋เช่นการนำเซรามิครูปทรงใหม่ๆ บวกเข้ากับลายเบญจรงค์จาก StudioMake, งานปูนที่ผสมผสานงานผ้าเป็นต้น อีกทั้งยังมีแบรนด์ดังอย่างเกรฮาวน์มาเสนอผลงานอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นเซอร์ไพรส

3. นิทรรศการด้านออกแบบหลากหลายสาขา ตัวอย่างเช่น นิทรรศการงานออกแบบดีเด่นจากประเทศญี่ปุ่น GMARK, งานออกแบบดีเด่นของไทย DMARK, DMY งานดีไซน์ล่าสุดส่งตรงจากเบอร์ลิน และความคิดสร้างสรรค์ของเหล่า ดีไซเนอร์ทั้งไทยและเทศ เป็นต้นนอกเหนือจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น“Designers Saturday” ที่เชิญ designer ระดับโลกมา บรรยาย“Degree Shows”งานแสดงผลงานนักศึกษาที่กำลังก้าวสู่โลกของมืออาชีพ และเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ในวงการออกแบบ

งานที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผม คือ งานดีไซน์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งงานได้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชั้นเลิศซึ่งเป็นรากฐานของศิลปะวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีความเป็นตะวันออกอย่างเด่นชัด เรียบ หรู มีดีไซน์ ดังภาพจะเห็นได้ว่าเป็นโคมไฟที่ออกแบบให้รบกวนธรรมชาติน้อยที่สุดความพิเศษของโคมไฟชิ้นนี้คือการใช้งานที่แปลกใหม่ เพียงแค่ใช้มือลูบที่สันไม้โคมไฟ ไฟก็จะติดและนอกจากนี้ ยังมีงานดีไซน์ของญี่ปุ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์อีกมากมาย

Contemporary ไทย : อัมรินทร์ บุพศิริ


นักเรียน นักเลียน มายาจริตในเครื่องแบบ
ศิลปิน อัมรินทร์ บุพศิริ ผลงานศิลปะร่วมสมัยพวกนี้ ถูกถ่ายทอดโดยศิลปินรุ่นใหม่ไฟแรงชาวเมืองเลย มีชื่อว่า เฟส หรืออัมรินทร์ บุพศิริ เป็นบัณฑิตจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ซึ่งนิทรรศการนี้ถูกแสดงมาเมื่อปีที่แล้วซึ่งก็ยังคงใช้เปรียบเทียบกับเด็กนักเรียนไทยบางส่วนในปัจจุบันได้ดีทีเดียว เพราะเป็นงานที่เสียดสีสังคมค่านิยมของนักเรียนหญิงไทยที่เปลี่ยนไป โดยเขามองว่าเมื่อ เดินไปตามท้องถนน ย่านร้านตลาดหรือห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ไม่ยากที่คุณจะได้พบกับ“นักเรียน” แบบที่เราอ้างถึง เธอเป็น “นักเรียน”จริงๆ แถมสังกัดโรงเรียนชื่อดังทั้งนั้น เพราะป้ายบอกชัดติดแปะที่หน้าอก เพียงแต่ภาพลักษณ์ภายนอกของเธอต่างกันลิบลับกับ “นักเรียน” ในอดีต ที่มีดวงหน้าสวยใสเป็นธรรมชาติ เสื้อไม่รัดติ้วเผยถึงเนินเนื้ออันนวลเนียนอย่างจงใจ ที่สำคัญจริตจะก้านก็มีไม่มากเท่านี้ จนแทบหาแววความน่ารักไร้เดียงสาไม่เจอ อัมรินทร์ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนทางความคิดของเยาวชนไทย ทั้งในฐานะ“ผู้บริโภค” อย่างไร้สติ และ “เหยื่อ” อันแสนอดสู

“ความตั้งใจของผมก็แค่อยากวิพากษ์พฤติกรรมของเด็กยุคนี้ที่นับวันจะเลวร้ายลงเรื่อยๆกึ่งๆ อารมณ์หมั่นไส้นิดๆ นั่นละครับ แต่ก็ไม่มีเจตนาจะว่าใครคนใดคนหนึ่ง มองในภาพรวมมากกว่าว่ามันรับไม่ไหวแล้วนะ ติดแฟชั่น แล้วมันก็กลายเป็นการเลียนแบบต่อๆ กัน”

อัมรินทร์ใช้ชื่อนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกนี้ว่า“นักเรียน” ความหมายของมันสื่อ 2 นัย เป็นคนที่ชอบลอกเลียนแบบพฤติกรรมอันเกิดจากสื่อที่หลั่งไหลเข้ามา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ดนตรี แฟชั่นอาหาร อีกหนึ่งความหมายนั้นเขาล้อกับตัวละครที่ปรากฏบนเฟรม ซึ่งทั้งหมดเป็นเด็กสาวรุ่นที่กำลัง

อยู่ในวัยศึกษาในชุดนักเรียนแต่สามารถบ้าบอไปกับค่านิยมแต่งสวยได้โดยไม่ลืมหูลืมตาว่าบางทีบางอย่างก็อาจไม่เหมาะไม่ควรกับตัวเอง“ที่ผมใช้เด็กผู้หญิงเป็นคนสื่อ เพราะผู้หญิงมันบ่งบอกถึงความใส ความน่ารัก แล้วยังเป็นการสะท้อนเรื่องเพศอีกด้วย ดูเผินๆ เออน่ารักนะแต่พอมาทำพฤติกรรมแบบนี้ แต่งตัวแต่งหน้าทาปากจัดๆ เออจากน่ารักก็เป็นไม่ค่อยน่ารักละ”

อารมณ์ของภาพมันค่อนข้างจะดูเป็นการ์ตูนนะ แต่ไม่มากหรอก ผมอยากให้มันดึงความสนใจผู้คนให้มาจับจ้องมอง ส่วนว่าจะตีความอะไรนั้นอันนี้แล้วแต่ใครจะมองแค่ความสนุกก็ได้ หรือจะคิดมากไปไกลถึงปัญหาระดับประเทศก็ไม่ว่ากัน เพราะสิ่งที่เด็กสาวเหล่านี้พยายามบอกเล่าความหมายชัดเจนอยู่แล้ว”

เด็กสาวในเครื่องแบบส่งยิ้มหวานผ่านลิป-สติกสีแปร๊ด ดวงตากลมเป็นประกายฉายถึงความสุขขณะนั่งอยู่ในห้องส่วนตัว บ้างก็มีเพื่อนเคลียคลออยู่ข้างๆ ช่วยกันแต่งแต้มความสวยให้กันและกัน กระจกเงาแต่ละบานสะท้อนให้เห็นว่าพวกเธอรักที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากพฤติกรรม“เลียนแบบ” ความเป็น“นักเรียน”วัยละอ่อนค่อยจางหายไปทีละน้อย ด้วยเพราะเครื่องสำอางที่เคลือบปิดความน่ารักของพวกเธอจนมิดชิดตามกฎแห่ง “การลอกเลียน”

โดยส่วนตัวแล้วผมชื่นชอบผมงานที่ค่อนข้างเสียดสีสังคมครับ เพราะมันสะท้อนพฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบันได้ดี ว่าปัจจุบันนี้ เกิดอะไรขึ้นกับสังคมของเราบ้าง สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแค่ไหน ซึ่งผมคิดว่าผลงานคุณอัมรินทร์ได้แสดงสิ่งที่ต้องการจะบอกกับผู้คนได้ดีทีเดียว เพราะสื่อออกมาได้อย่างชัดเจนและทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ สามารถเข้าใจได้ตรงกัน อีกทั้งผมเห็นด้วยว่า เด็กนักเรียนสมัยนี้ต่างจากสมัยก่อนเยอะมาก เด็กสมัยนี้มีโทรศัพท์มือถือใช้ตั้งแต่อนุบาล ในกระเป๋านักเรียนต้องพกเครื่องสำอางค์ไปโรงเรียน แอบซอยผม เวลาถ่ายรูปต้องก้มหน้าต่ำกว่าเลนส์กล้องแล้วทำท่าแก้มป่อง เบ่งตาโตให้แบ๊ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันดีกว่าเดิมยังไง ผมคิดว่าช่วงที่นิทรรศการนี้ออกแสดงคงทำให้นักเรียนหลายๆ คน หรือผู้ใหญ่ที่มีลูกหลานที่มีพฤติกรรมแบบนี้สะดุ้งตามกันเป็นแถวๆ