วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Contemporary : BDF



BDF Bangkok International Design Festival 2010

สำหรับผู้ที่รักการออกแบบและอยากจะรู้ว่างานออกแบบสร้างมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างไร ไม่ควรพลาดงาน “เทศกาลออกแบบนานาชาติบางกอก 2010” ซึ่งได้รวบรวมกิจกรรมต่างๆ มากกว่า 40 กิจกรรม ภายใต้ความร่วมมือกว่า 26 ประเทศ โดยพื้นที่จัดงานหลักคือหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เซ็นทรัลเวิลด์ และอีกหลายแห่งด้วยกัน งาน “เทศกาลออกแบบนานาชาติบางกอก 2010”
ลักษณะของานมีด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. การแสดงหลัก ภายใต้แนวคิด “ความรักและมิตรภาพ” ที่เน้นถึงความรัก มิตรภาพ และการแลกเปลี่ยนทางการออกแบบ โดยความร่วมมือกันของดีไซเนอร์ไทยและต่างชาติชื่อดัง ซึ่งงานส่วนนี้จะกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ

2. Next Station Bangkok ( CreativeMarket Zone ) ตลาดนัดงานออกแบบที่มีทั้งผลิตภัณฑ์ โปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ แฟชั่น และอื่นๆที่หักมุม โดดเด่น เติมเต็มจินตนาการแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครจาก นักออกแบบรุ่นใหม่ที่จะแสดงกระบวนการสร้างงานเก๋ไก๋เช่นการนำเซรามิครูปทรงใหม่ๆ บวกเข้ากับลายเบญจรงค์จาก StudioMake, งานปูนที่ผสมผสานงานผ้าเป็นต้น อีกทั้งยังมีแบรนด์ดังอย่างเกรฮาวน์มาเสนอผลงานอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นเซอร์ไพรส

3. นิทรรศการด้านออกแบบหลากหลายสาขา ตัวอย่างเช่น นิทรรศการงานออกแบบดีเด่นจากประเทศญี่ปุ่น GMARK, งานออกแบบดีเด่นของไทย DMARK, DMY งานดีไซน์ล่าสุดส่งตรงจากเบอร์ลิน และความคิดสร้างสรรค์ของเหล่า ดีไซเนอร์ทั้งไทยและเทศ เป็นต้นนอกเหนือจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น“Designers Saturday” ที่เชิญ designer ระดับโลกมา บรรยาย“Degree Shows”งานแสดงผลงานนักศึกษาที่กำลังก้าวสู่โลกของมืออาชีพ และเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ในวงการออกแบบ

งานที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผม คือ งานดีไซน์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งงานได้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชั้นเลิศซึ่งเป็นรากฐานของศิลปะวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีความเป็นตะวันออกอย่างเด่นชัด เรียบ หรู มีดีไซน์ ดังภาพจะเห็นได้ว่าเป็นโคมไฟที่ออกแบบให้รบกวนธรรมชาติน้อยที่สุดความพิเศษของโคมไฟชิ้นนี้คือการใช้งานที่แปลกใหม่ เพียงแค่ใช้มือลูบที่สันไม้โคมไฟ ไฟก็จะติดและนอกจากนี้ ยังมีงานดีไซน์ของญี่ปุ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์อีกมากมาย

Contemporary ไทย : อัมรินทร์ บุพศิริ


นักเรียน นักเลียน มายาจริตในเครื่องแบบ
ศิลปิน อัมรินทร์ บุพศิริ ผลงานศิลปะร่วมสมัยพวกนี้ ถูกถ่ายทอดโดยศิลปินรุ่นใหม่ไฟแรงชาวเมืองเลย มีชื่อว่า เฟส หรืออัมรินทร์ บุพศิริ เป็นบัณฑิตจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ซึ่งนิทรรศการนี้ถูกแสดงมาเมื่อปีที่แล้วซึ่งก็ยังคงใช้เปรียบเทียบกับเด็กนักเรียนไทยบางส่วนในปัจจุบันได้ดีทีเดียว เพราะเป็นงานที่เสียดสีสังคมค่านิยมของนักเรียนหญิงไทยที่เปลี่ยนไป โดยเขามองว่าเมื่อ เดินไปตามท้องถนน ย่านร้านตลาดหรือห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ไม่ยากที่คุณจะได้พบกับ“นักเรียน” แบบที่เราอ้างถึง เธอเป็น “นักเรียน”จริงๆ แถมสังกัดโรงเรียนชื่อดังทั้งนั้น เพราะป้ายบอกชัดติดแปะที่หน้าอก เพียงแต่ภาพลักษณ์ภายนอกของเธอต่างกันลิบลับกับ “นักเรียน” ในอดีต ที่มีดวงหน้าสวยใสเป็นธรรมชาติ เสื้อไม่รัดติ้วเผยถึงเนินเนื้ออันนวลเนียนอย่างจงใจ ที่สำคัญจริตจะก้านก็มีไม่มากเท่านี้ จนแทบหาแววความน่ารักไร้เดียงสาไม่เจอ อัมรินทร์ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนทางความคิดของเยาวชนไทย ทั้งในฐานะ“ผู้บริโภค” อย่างไร้สติ และ “เหยื่อ” อันแสนอดสู

“ความตั้งใจของผมก็แค่อยากวิพากษ์พฤติกรรมของเด็กยุคนี้ที่นับวันจะเลวร้ายลงเรื่อยๆกึ่งๆ อารมณ์หมั่นไส้นิดๆ นั่นละครับ แต่ก็ไม่มีเจตนาจะว่าใครคนใดคนหนึ่ง มองในภาพรวมมากกว่าว่ามันรับไม่ไหวแล้วนะ ติดแฟชั่น แล้วมันก็กลายเป็นการเลียนแบบต่อๆ กัน”

อัมรินทร์ใช้ชื่อนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกนี้ว่า“นักเรียน” ความหมายของมันสื่อ 2 นัย เป็นคนที่ชอบลอกเลียนแบบพฤติกรรมอันเกิดจากสื่อที่หลั่งไหลเข้ามา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ดนตรี แฟชั่นอาหาร อีกหนึ่งความหมายนั้นเขาล้อกับตัวละครที่ปรากฏบนเฟรม ซึ่งทั้งหมดเป็นเด็กสาวรุ่นที่กำลัง

อยู่ในวัยศึกษาในชุดนักเรียนแต่สามารถบ้าบอไปกับค่านิยมแต่งสวยได้โดยไม่ลืมหูลืมตาว่าบางทีบางอย่างก็อาจไม่เหมาะไม่ควรกับตัวเอง“ที่ผมใช้เด็กผู้หญิงเป็นคนสื่อ เพราะผู้หญิงมันบ่งบอกถึงความใส ความน่ารัก แล้วยังเป็นการสะท้อนเรื่องเพศอีกด้วย ดูเผินๆ เออน่ารักนะแต่พอมาทำพฤติกรรมแบบนี้ แต่งตัวแต่งหน้าทาปากจัดๆ เออจากน่ารักก็เป็นไม่ค่อยน่ารักละ”

อารมณ์ของภาพมันค่อนข้างจะดูเป็นการ์ตูนนะ แต่ไม่มากหรอก ผมอยากให้มันดึงความสนใจผู้คนให้มาจับจ้องมอง ส่วนว่าจะตีความอะไรนั้นอันนี้แล้วแต่ใครจะมองแค่ความสนุกก็ได้ หรือจะคิดมากไปไกลถึงปัญหาระดับประเทศก็ไม่ว่ากัน เพราะสิ่งที่เด็กสาวเหล่านี้พยายามบอกเล่าความหมายชัดเจนอยู่แล้ว”

เด็กสาวในเครื่องแบบส่งยิ้มหวานผ่านลิป-สติกสีแปร๊ด ดวงตากลมเป็นประกายฉายถึงความสุขขณะนั่งอยู่ในห้องส่วนตัว บ้างก็มีเพื่อนเคลียคลออยู่ข้างๆ ช่วยกันแต่งแต้มความสวยให้กันและกัน กระจกเงาแต่ละบานสะท้อนให้เห็นว่าพวกเธอรักที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากพฤติกรรม“เลียนแบบ” ความเป็น“นักเรียน”วัยละอ่อนค่อยจางหายไปทีละน้อย ด้วยเพราะเครื่องสำอางที่เคลือบปิดความน่ารักของพวกเธอจนมิดชิดตามกฎแห่ง “การลอกเลียน”

โดยส่วนตัวแล้วผมชื่นชอบผมงานที่ค่อนข้างเสียดสีสังคมครับ เพราะมันสะท้อนพฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบันได้ดี ว่าปัจจุบันนี้ เกิดอะไรขึ้นกับสังคมของเราบ้าง สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแค่ไหน ซึ่งผมคิดว่าผลงานคุณอัมรินทร์ได้แสดงสิ่งที่ต้องการจะบอกกับผู้คนได้ดีทีเดียว เพราะสื่อออกมาได้อย่างชัดเจนและทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ สามารถเข้าใจได้ตรงกัน อีกทั้งผมเห็นด้วยว่า เด็กนักเรียนสมัยนี้ต่างจากสมัยก่อนเยอะมาก เด็กสมัยนี้มีโทรศัพท์มือถือใช้ตั้งแต่อนุบาล ในกระเป๋านักเรียนต้องพกเครื่องสำอางค์ไปโรงเรียน แอบซอยผม เวลาถ่ายรูปต้องก้มหน้าต่ำกว่าเลนส์กล้องแล้วทำท่าแก้มป่อง เบ่งตาโตให้แบ๊ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันดีกว่าเดิมยังไง ผมคิดว่าช่วงที่นิทรรศการนี้ออกแสดงคงทำให้นักเรียนหลายๆ คน หรือผู้ใหญ่ที่มีลูกหลานที่มีพฤติกรรมแบบนี้สะดุ้งตามกันเป็นแถวๆ

Contemporary โปสการ์ด สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔

หัวข้อ ไทยร่วมสมัย ออกแบบโดยใช้ประติมากรรมรูปมือสีทอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะไทย มาผสมผสานกับกราฟฟิคสมัยใหม่ ที่มีความสนุกสนานด้วยเส้นสายและสีสัน

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดูแลต้นไม้ด้วยน้ำซักผ้า

ออกแบบสัญลักษณ์โครงการลดโลกร้อน "ดูแลต้นไม้ด้วยน้ำซักผ้า" ไอเดียมาจากสัญลักษณ์ washing บนเสื้อผ้ามาผสมผสานกับต้นไม้

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Typography 1

Magazine หน้าคู่


วิชา Typography เทอม 1 โดยอาจารย์สั่งให้ทำ Magazine หน้าคู่ พร้อมกับมีรายชื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อวงการต่างๆ ของโลกหลายคนหลายวงการ และให้จับฉลากเลือก ซึ่งผมก็จับได้ Kate Moss นางแบบที่ทรงอิทธิพลของวงการแฟชั่น

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Final Project

Dior Calendar 2010
ด้านหน้า

ด้านหลัง

ผลงานชิ้นนี้เป็นการออกแบบปฏิทินแฟชั่นตั้งโต๊ะ โดยใช้เสื้อผ้าของ Dior Cruise Collection 2010 มาผสมกับการวาดลายเส้นและดอกไม้ที่อ่อนช้อยเปรียบเสมือนความงดงามของหญิงสาวทั้ง 12 เดือน ซึ่งภายในปฏิทินทั้ง 12 เดือนนี้ จะจัดวางองค์ประกอบโดยเน้นภาพประกอบเป็นหลัก
ผลงานชิ้นนี้ใช้เทคนิคการจับจีบผ้าให้เป็นชุดตามต้นแบบ แล้ววาดลายเส้นพร้อมกับลงสีน้ำ จากนั้นถ่ายรูปแล้วนำเข้าโปรแกรม Photoshop เพื่อปรับแต่งภาพ แล้วใส่ text ในโปรแกรม Illustrator ให้สมบรูณ์ จากนั้นจึงค่อยเย็บเป็นปฏิทินตั้งโต๊ะ










ส่วนภาพต่อไปคืองานสเก็ตและงานต้นฉบับ ซึ่งกว่าจะได้งานต้นฉบับมา ต้องแก้แล้วแก้อีกตลอด 3 สัปดาห์เลย



Map Design

ออกแบบแผนที่การเดินทางระหว่างบ้านถึงมหาวิทยาลัยกรุงเทพ




ผลงานชิ้นนี้ใช้เทคนิค drawing ด้วยกาแฟและปากกาหมึกดำ โดยจะวาดเฉพาะสถานที่สำคัญๆ ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีเพื่อให้ง่ายต่อการเดินทาง สไตล์ของงานชิ้นนี้ พยายามที่จะทำให้ออกแนวแผนที่โบราณ

Magazine

Magazine Fashion หน้าคู่




ผลงานชิ้นนี้เป็นการทำภาพประกอบคอลัมน์ในนิตยสาร โดยคอลัมน์ที่เลือกมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของ Coco Chanel ดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตำนานของวงการแฟชั่นโลก เธอก้าวเข้าสู่วงการนี้ ทำให้โฉมหน้าของโลกแฟชั่นเปลี่ยนไปอย่างหน้าทึ่ง เธอเป็นผู้ปฏิวัติการแต่งกายของผู้หญิงโดยเฉพาะ

ผลงานชิ้นนี้ใช้เทคนิคคอลลาจ drawing และการจับจีบผ้า รวมทั้งใช้ลูกปัดแทนสร้อยมุขตกแต่งชิ้นงาน เพื่อให้ดูเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น

Book Cover



ผลงานชิ้นนี้เป็นการนำหนังสือที่ออกจำหน่ายแล้ว มาเปลี่ยนปกใหม่ในสไตล์ของตนเอง โดยได้ใช้ pocket book ของ "พ.ญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์" หรือ "หมอเบิร์ด" ภายใต้ชื่อ "เรื่องเล่าของหมอเบิร์ด เปิดบ้านศรีธัญญา" ใช้เทคนิคคอลลาจด้วยกระดาษผละใช้ผ้าจับจีบให้พริ้วเสมือนจริง

Why call me color

ภาพประกอบกลอน Why call me color



When I born, I black
When I grow up, I black
When I go in Sun, I black
When I scared, I black
When I sick, I black
And when I die, I still black

And you white fellow
When you born, you pink
When you grow up, you white
When you go in sun, you red
When you cold, you blue
When you scared, you yellow
When you sick, you green
And when you die, you grey

And you calling me colored?

ใ่้ิช้เด็กแอฟริกันที่มีสีหน้าที่หมองเศร้า สื่อความรู้สึกของมนุษย์ที่่ถูกแบ่งชนชั้นด้วยสีผิว ใช้เทคนิคการจับขีบผ้าและสีโปสเตอร์

Reproduct

ผลงานของ Paula Sanz Caballero

ผลงาน Reproduct

ผลงานชิ้นนี้เป็นการ Reproduct ผลงานของ Paula Sanz Caballero ศิลปินชาวสเปน ซึ่งผลงานชิ้นนี้ใช้เทคนิคการจับจีบผ้า เพื่อให้เกิดความสมจริง ดูมิติ ผสมผสานกับเทคนิค drawing เป็นบางส่วน ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่าเทคนิคการจับจีบผ้านี้ทำเป็นครั้งแรก งานอาจจะดูไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ ไม่ว่ากันนะครับ 555 :)